ไร้ท์รีแอคติเวชั่น

ถ่านกัมมันต์ Activated Carbon จากกะลามะพร้าว

บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลามะพร้าว (Coconut Shell Based Activated Carbon) 
ขั้นตอนการผลิตถ่านกัมมันต์เริ่มต้นจากการนำกะลามะพร้าวดิบมาผ่านกระบวนการเผาแบบไพโรไลซิส (Pyrolysis) ให้กลายเป็นถ่านกะลามะพร้าว (Coconut Shell Charcoal) หรือเรียกว่าขั้นตอนคาร์บอไนเซชั่น (Carbonization) ถ่านกะลามะพร้าวที่ได้จะมีการตรวจสอบคุณภาพ อาทิเช่น ค่าคาร์บอนคงตัว (Fixed Carbon) ค่าความชื้น (Moisture) ค่าสารระเหย (Volatile Matter) เป็นต้น จากนั้นถ่านกะลามะพร้าวที่ผ่านการควบคุมคุณภาพก็จะนำไปตีเม็ด (Crushing) และคัดร่อน (Size Screening) ตามลำดับเพื่อให้ได้ขนาดตามต้องการ ถ่านกะลาที่ตีเม็ดแล้วจะมีลักษณะเป็นเม็ดกรานูล่า (Granular) จากนั้นก็จะถูกนำไปเผาซ้ำที่อุณหภูมิสูงด้วยการใช้ไอน้ำร้อนยิ่งยวด (Superheated Steam) เกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างถ่านกะลา (Charcoal) กับไอน้ำ (Steam) ทำให้ได้ถ่านที่มีความเป็นรูพรุนและพื้นที่ผิวต่อกรัมที่สูง เรียกว่า ถ่านกัมมันต์ คุณสมบัติเด่นของถ่านกัมมันต์ที่เหนือกว่าถ่านกะลาหรือถ่านชาร์โคล (Charcoal) ก็คือประสิทธิภาพการดูดซับ ซึ่งมักจะถูกวัดด้วยค่าไอโอดีน (Iodine Number) มีค่าอยู่ระหว่าง 600 จนถึง 1600 mg/g ขึ้นอยู่กับเทคนิคการผลิต ในขณะที่ถ่านกะลาหรือถ่านชาร์โคล จะมีค่าเพียง 100 ถึง 200 mg/g ค่าไอโอดีนถูกใช้เป็นตัวแบ่งเกรดและราคาของถ่านกัมมันต์ กล่าวคือ ค่าไอโอดีนยิ่งสูงก็จะหมายถึงถ่านมีคุณภาพสูงและราคาก็จะยิ่งสูงตาม นอกจากค่าไอโอดีนแล้วยังมีพารามิเตอร์อื่นๆ ที่กำหนดคุณภาพของถ่านกัมมันต์อีก เช่น ค่าความแข็ง (Hardness Number) ค่าปริมาณเถ้า (Ash Content) ค่าความชื้น (Moisture) ค่าความหนาแน่นปรากฏ (Appearance Density) ค่าความเป็นกรดด่าง (pH Value) เป็นต้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Line OA : @rightreactivation
โทร.  : +669 4935 3997

      นอกจากการผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลามะพร้าวแล้ว บริษัทฯ ยังได้มีการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับถ่านกัมมันต์ใน 2 มิติ ได้แก่

1. การผลิตถ่านกัมมันต์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรชนิดอื่นๆ เช่น กะลาปาล์ม ไม้ไผ่ ซังข้าวโพด เปลือกเมล็ดกาแฟ เปลือกแมคคาเดเมีย ขี้เลื่อย เป็นต้น
2.) การเพิ่มมูลค่าถ่านกัมมันต์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การล้างกรด (Acid Washing) การทำการเคลือบผิว (Impregnation) เป็นต้น การผลิตถ่านกัมมันต์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้มากกว่าการนำไปทำเชื้อเพลิง เพิ่มวงจรชีวิตวัสดุดังกล่าว เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร อีกทั้งยังเป็นการสร้างระบบเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ซึ่งเป็นการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาผลิตเป็นสินค้าอุตสาหกรรม และสร้างเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Line OA : @rightreactivation
โทร.  : +669 4935 3997

      ถ่านกัมมันต์ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน ในฐานะสารกรองในระบบกรองน้ำดีทั่วไป ซึ่งมีการใช้ถ่านกัมมันต์ทำหน้าที่กรองสีและกลิ่นไม่พึงประสงค์ในน้ำรวมถึงสารคลอรีนในน้ำ ในภาคอุตสาหกรรมยังมีการใช้งานที่หลากหลายแอปพลิเคชัน เช่น ใช้เป็นสารฟอกสี (Decolorization) ดูดกลิ่น (Deodorization) บำบัดน้ำเสียและอากาศเสีย (Wastewater and Air Pollution Treatment) สารผสมในอาหาร (Food Additive) ทำยา (Pharmaceutical) ไปจนถึงทำเครื่องสำอาง (Cosmetics) เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Line OA : @rightreactivation
โทร.  : +669 4935 3997