ไร้ท์รีแอคติเวชั่น

ฟื้นฟูสภาพตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดของแข็งใช้แล้วต่างๆ

      กระบวนการเคมี โดยเฉพาะในรวมถึงอุตสาหกรรมอาหารและยาบางประเภท มักจะมีการใช้ตัวเร่งปฏิริยาชนิดของแข็ง เพื่อช่วยทำให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ด้วยสภาวะที่ไม่รุนแรงซึ่งเป็นการช่วยประหยัดพลังงาน ดังนั้นตัวเร่งปฏิกิริยาจึงได้ว่าเป็นหัวใจของกระบวนการเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากช่วยเพิ่มผลผลิต (Productivity) และลดต้นทุนต่อหน่วยการผลิต (Unit Cost Efficiency) ได้แก่



1.) ธาตุว่องไว (Active Element) ซึ่งมักจะใช้โลหะมีค่า เช่น แพลตทินัม (Platinum, Pt) เงิน (Silver, Ag) ทอง (Gold, Au) พาราเดียม (Palladium, Pd) เป็นต้น

2.) วัสดุรองรับ (Substrate) เช่น ซิลิกา (Silica, SiO2) อะลูมินา (Alumina, Al2O3) ไทเทเนีย (Titania, TiO2) ซีโอไลต์ (Zeolite, AlxSiyOz)

      ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดของแข็งที่ใช้งานแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.) สามารถฟื้นฟูสภาพได้ ตัวเร่งฯประเภทนี้ องค์ประกอบหลักจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก มักจะเสื่อมสภาพด้วยการมีเคมีเคลือบพื้นที่ผิวหรือเกิดคาร์บอน (Coke) เคลือบพื้นที่ผิว ดังนั้นจึงสามารถฟื้นฟูสภาพด้วยการเผาหรือออกซิเดชัน (Oxidation) ภายใต้สภาวะควบคุม โรงงานบางแห่งก็จะมีระบบการฟื้นฟูสภาพในตัว (In-situ Regeneration) เพื่อความสะดวกเนื่องจากตัวเร่งฯ อาจจะมีอายุการใช้งานที่สั้นทำให้ต้องหมั่นฟื้นฟูสภาพเป็นระยะๆ แต่โรงงานอีกหลายๆแห่งก็จะมีการเปลี่ยนถ่ายออกมา (Unloading) และไปทำการฟื้นฟูสภาพนอกโรงงาน

2.) ไม่สามารถฟื้นฟูสภาพได้ เป็นผลมาจากการที่องค์ประกอบหลักมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงหรือโครงสร้างระดับโมเลกุลมีการเปลี่ยนแปลงจะไม่สามารถฟื้นฟูสภาพนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ซึ่งวิธีการเดียวในการจัดการก็จะเป็นการสกัดหรือการถลุงโลหะมีค่าออกจากวัสดุรองรับ

      ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้ริเริ่มศึกษาการฟื้นฟูสภาพตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดของแข็งใช้แล้วขึ้น โดยร่วมมือกับลูกค้า ทำงานร่วมกันในลักษณะงานวิจัยและพัฒนา ผ่านหน่วยวิจัยและพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ และพัฒนาไปสู่การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมด้วยกระบวนการต่างๆของบริษัทฯ เช่น เตาหมุน (Rotary Kiln) เตาตั้ง (Box Furnace) และ เตาสายพาน (Moving Belt Furnace) ตามความเหมาะสมของแต่ละตัวเร่งปฏิกิริยารวมไปถึงการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยและหน่วยงานวิจัยภายนอกในด้านเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยสำหรับการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ความสำเร็จของบริษัทฯ ได้ช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศโดยการฟื้นฟูสภาพฯ ภายในประเทศ และสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายในประเทศ