ไร้ท์รีแอคติเวชั่น

ฟื้นฟูสภาพวัสดุฟอกสีดูดซับใช้แล้ว อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเคมี

      ในกระบวนการอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเคมี มักจะประกอบด้วยกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ (Purification Process/Unit) ซึ่งวิธีการดังกล่าวก็จะแตกต่างกันออกไป อาทิเช่น การกลั่น (Distillation) การตกผลึก (Crystallization) การปั่นเหวี่ยง (Centrifugation) เป็นต้น นอกเหนือจากวิธีการทางกายภาพข้างต้น การใช้วัสดุดูดซับ (Adsorbent) ก็ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูง กระบวนการทำให้บริสุทธิ์จะมีการเติมสารกรองหรือวัสดุดูซับ ทำหน้าที่ฟอกสีหรือดูดกลิ่นหรือดูดความชื้นตามลักษณะการใช้งาน นอกเหนือจากถ่านกัมมันต์ (Acitvated Carbon) วัสดุดูดซับที่นิยมใช้ ได้แก่ ซีโอไลต์ (Zeolite) อะลูมินา (Alumina) ซิลิกา (Silica) ไทเทเนีย (Titania) เคลย์ (Clay) แป้งฟอกสี (Bleaching Earth) เป็นต้น

      เนื่องจากการใช้งานวัสดุข้างต้นใช้หลักการดูดซับทางกายภาพ (Physical Adsorption) จึงมีเวลาหมดอายุ ซึ่งระยะเวลาก็จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดของสารเคมีและสภาวะการใช้งาน วัสดุที่หมดอายุหรือวัสดุดูดซับใช้แล้ว (Spent Adsorbent) จะกลายเป็นขยะอุตสาหกรรมและส่งกำจัดด้วยวิธีเผาทำลายและ/หรือฝังกลบ

      ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้ริเริ่มศึกษาการฟื้นฟูสภาพวัสดุดูดซับใช้แล้วขึ้น โดยร่วมมือกับลูกค้า ทำงานร่วมกันในลักษณะงานวิจัยและพัฒนา ผ่านหน่วยวิจัยและพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ และพัฒนาไปสู่การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมด้วยกระบวนการต่างๆของบริษัทฯ เช่น เตาหมุน (Rotary Kiln) เตาตั้ง (Box Furnace) และ เตาสายพาน (Moving Belt Furnace) ตามความเหมาะสมของแต่ละวัสดุ ช่วยทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ซ้ำ สร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) กับลูกค้า มีส่วนช่วยลดขยะอุตสาหกรรมและลดการใช้ทรัพยากร